top of page
  • Writer's pictureNum | Sahathust

Content Marketing EP4 : เทคนิคการสร้าง Content ที่โดนใจลูกค้า

ขึ้นชื่อตอนว่าการทำคอนเทนต์ให้โดนใจลูกค้า หลายคนที่ตามมาจาก EP ก่อนหน้าคงพูดว่าในที่สุดก็ถึงหัวใจของเรื่องสักที ยินดีด้วยครับ คุณติดตามมาถึงตอนสำคัญของเรื่องแล้ว ห้ามพลาดเด็ดขาด การทำคอนเทนต์ให้โดนใจลูกค้า นั้นหลักๆควรนึกคำสามคำนี้คือ 1.ลงอย่างสม่ำเสมอ(Consostency) 2.เนื้อหาคุณภาพน่าสนใจ(Quality) 3.จำนวนครั้งในการโพสต์(Frequency) สามหลักสำคัญเป็นพื้นฐานของการทำคอนเทนต์ให้โดนใจลูกค้า เรื่องไอเดียในการทำคอนเทนต์นั้นสำคัญ เพื่อจะได้ลงเนื้อหาสิ่งที่น่าสนใจ ต่อเนื่องได้ ตามไปอ่านกันได้กับ EP ก่อนหน้านี้นะครับ เนื้อหาในตอนนี้ส่วนใหญ่จะเน้นเทคนิคของหัวข้อ เทคนิคการเขียน Blog โครงกสร้างของ Blog และข้อแนะนำให้เนื้อหาเราโดนใจลูกค้า เรามาเริ่มกันเลย


EP4 Content Marketing เทคนิคการสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจลูกค้า | Noonnum.com

วิธีการเลือกหัวข้อและหัวเรื่องในการเขียน Blog

เลือกหัวเรื่องหรือเนื้อเรื่องหลักที่จะเขียน - Blog ที่ได้รับความนิยม เนื้อหาหลักจะเป็นการเขียนเชิงให้ความรู้ หรือให้คำตอบในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ทุกครั้งที่จะคิดถึงหัวเรื่องนั้น ผู้เขียนควรคิดในมุมมองของลูกค้าหรือผู้อ่านหลักของเราให้ได้มากที่สุด พยายามตั้งคำถามเพื่อถามตัวเอง ลูกค้าของเรามักจะถามอะไรเราบ่อยๆ ลูกค้าเรามักจะให้เราช่วยเขาเรื่องอะไรมากที่สุด อะไรที่เราอยากจะให้คนรู้ในธุรกิจของเรา หรือแม้กระทั่งถามว่าอะไรที่คู่แข่งของเรามักจะสื่อออกมาผ่านทาง โซเชียลต่างๆ


เลือกหัวเรื่อง และคิดต่อยอดจากหัวเรื่องเป็นคำถาม - ยกตัวอย่าง ธุรกิจเราผลิตโรงเท้า เราลองเลือกหัวเรื่อง ยกตัวอย่าง “รองเท้าวิ่ง” คิดต่อยอดจากรองเท้าวิ่ง อย่างเช่น รองเท้าวิ่งแบบไหน เหมาะกับวิ่งมาราธอน หรือ วิ่งเทรลควรใช้รองเท้าแบบไหนวิ่งดี หรืออาจจะเป็น 10 อันดับรองเท้าวิ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดการ เป็นต้น หัวข้อจากที่เราต่อยอดนี้เราสามารถนำมาใช้เป็น หัวข้อของบทความของเราได้ หรือเราเรียกว่า Working Title


เมื่อเราได้หัวเรื่องที่ต้องการแล้ว เราควรที่จะหา Keyword หรือคำที่เราคิดว่าลูกค้ามักจะพิมพ์ถาม เป็นคำที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นๆ หรือธุรกิจเรา สิ่งที่ควรรู้ คำว่า Longtail Keyword คือ กลุ่มคำ หรือคำสองถึงสามคำขึ้นไป เพื่อให้เป็นคำเฉพาะเจาจงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเหมาะกับงานเขียนประเภท Blog มากกว่า


เราควรโฟกัส Longtail Keyword เพียงกลุ่มเดียวต่อหนึ่งหัวข้อที่เราควรจะเขียน ดูตัวอย่างนี้เพื่อเข้าใจมากขึ้นครับ

  • รองเท้า จะเป็น Keyword กว้างๆไม่ค่อยเจาะจง

  • รองเท้าวิ่ง เป็น Kewword ที่เพิ่มคำว่าวิ่งเข้ามาเพื่อให้เจาะจงขึ้น

  • รองเท้าวิ่งมาราธอน มีคำว่ามาราธอนขึ้นมา เพื่อให้รู้ประเภทของการวิ่งนั้น

  • รองเท้าวิ่งมาราธอนNike เป็น Keyword ที่ยาวที่สุด เหมือนจะเป็นประโยคเลย แบบนี้เราเรียกว่า Long Tail Keyword ที่เราต้องการ นำมาใช้กับ Blog ของเรา


หัวข้อบทความเราควรมีความยาวเท่าไร

สำหรับ Blog นั้นหัวเรื่องที่ใช้ควรมีขนาดประมาณ 60 ตัวอักษร สำหรับหัวเรื่องบน twitter ควรใช้ประมาณ 8-12 คำ สำหรับหัวเรื่องบน Facebook ควรอยู่ระหว่าง12-14 คำ

เรามารถใช้เครื่องมือ อย่าง Google Trend ในการสำรวจค้นหา ของหัวข้อที่มีผู้สนใจ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจเรา สามารถสำรวจตามช่วงระยะเวลา หรือตามสถานที่ ตามประเทศ ว่ามีเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมของเราที่มีคนสนใจอยู่บ้าง นอกจากนี้ Google ยังเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้ ผ่าน Google News Initiative ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับสื่อมวลชน เพื่อเรียนรู้วิธีการที่ดีที่สุดในการใช้เครื่องมือของ Google สำหรับการรายงานและการเล่าเรื่อง ซึ่งเปิดให้เรียนฟรี


วิธีการวางโครงสร้างของBlog

Blog ที่มีคนอ่านติดตามกันส่วนมากนั้น เขามีโครงสร้างในการเขียนที่ชัดเจน ซึ่งโครงสร้างของงานเขียนนี้จะทำให้ผู้อ่านสามารถรู้ทิศทางได้ ทำให้ผู้อ่านจับใจความหลักที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารได้ชัดเจนขึ้น ผู้อ่านจะจดจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้นด้วย ลดเวลาในงานเขียนลดลง และเนื้อหามีประสิทธิภาพสูงขึ้น(ไม่เว่นเวอร์ ยืดยาวเกินไป)


โครงสร้างหลักของบทความที่เป็นรายการ (List Post)

ประกอบด้วย ย่อหน้าต่างๆเหล่านี้

- การเกริ่นนำ(Introduction)

- หัวข้อหลัก (Main Subheading)

1.

2.

3.

4.

5.

- หัวข้อรองเพิ่มเติม(Subheading)

- กล่าวสรุป(Conclusion)


โครงสร้างหลักของบทความประเภทวิธีการทำ(How-to)

ประกอบด้วย ย่อหน้าต่างๆเหล่านี้

- การเกริ่นนำ (Intro)

- แสดงความสำคัญหัวข้อย่อย(Why It Matters)

1.

2.

3.

4.

5.

- สรุปหัวข้อย่อย(Conclusion Subheading)

- กล่าวสรุป(Conclusion)


จะเห็นได้ว่าโครงสร้างเหล่านี้ Blog ที่ได้รับความนิยมมักจะนำมาใช้กัน เวลาที่เราเริ่มเขียน เราควรเริ่มต้นจากการวางย่อหน้าต่างๆก่อน แล้วลงมือเขียนเนื้อหาหลัก ทิ้งการเกริ่นนำและบทสรุปไว้เขียนเป็นอย่างสุดท้าย


ข้อแนะนำสำหรับทำให้บทความน่าอ่านมากขึ้น

  • พยายามใช้หัวข้อย่อย และใช้ Bullet List หรือ ตัวเลขแสดงลำดับให้มาก เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถจัดความสำคัญของเนื้อหาได้

  • พยายามใช้ Keyword ที่เราต้องการ ใส่เข้ามาในบทความด้วย ในส่วนของเนื้อหา หรือในส่วนของหัวข้อต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านสามารถจับประเด็นที่เราต้องการสื่อได้ง่าย และยังส่งผลต่อการจัดอันดับบทความของเราให้ Search Engine เลือกไปนำเสนออีกด้วย

  • พยายามให้มีพื้นที่พักสายตา (White Space) ให้มาก จะทำให้บทความน่าอ่านมากขึ้น ใช้ตัวอักษรเน้นข้อความเพียงประโยคเดียวต่อย่อหน้าหนี่งๆเท่านั้น เพราะจะทำให้ผู้อ่านจับประเด็นได้ยาก ถ้ามีตัวอักษรเน้นหลายประโยค เพิ่มการใช้ภาพ วีดีโอ หรือ ไฟล์เสียง

  • เพื่อให้บทความดึงดูดการอ่านอย่างต่อเนื่อง อย่าลืมว่าผู้อ่านบทความในปัจจุบันใช้ มือถือ เกือบ 85% ดังนั้นควรปรับขนาดของตัวอักษรและขนาดของการวางหน้าจอให้เหมาะกับ การใช้งานผ่านมือถือด้วย


และนี้คือรายละเอียดคร่าวๆในการเขียนบทความที่ที่มอบคุณค่าให้กับทุกคน สิ่งที่เราเน้นย้ำทั้ง หัวข้อเรื่อง โครงสร้างบทความ และเนื้อหาต่างๆ สิ่งที่จะช่วยให้คุณเขียนบทความได้ดียิ่งขึ้นนั้นก็คือ การทำอย่างต่อเนื่อง และหมั่นศึกษาและพัฒนาทักษะการเขียนต่อไปเรื่อยๆ เราเชื่อว่า บทความของคุณจะได้รับความนิยมแน่นอนครับ บทความหน้าเราจะลงลึกกันต่อ ว่าเราจะมีเทคนิคการปรับแต่งบทความอย่างไรให้ กูเกิล หรือ Search Engine ต่างๆชอบ คอยติดตามกันครับ


ทีมหนุนนำ เราให้ความช่วยเหลือในการสร้างเว็บไซต์ให้กับทุกคน เราเน้นการช่วยเหลือด้านการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับบนกูเกิล และเรายังช่วยแนะนำการทำการตลาดออนไลน์ให้กับธุรกิจด้วย ทีบริษัทและองค์กร หลายแห่งให้เราเข้าไปช่วยพัฒนาทักษะและความสามารถของทีมงาน ถ้าใครสนใจสามารถติดต่อเราได้ที่ลิงค์นี้ หรือผ่าน Line Official Account : @noonnum เจอกันใหม่ในบทความหน้าครับ


58 views0 comments
bottom of page