เดินทางกันมาถึงตอนที่ 4 สำหรับใครที่เพิ่งมาเริ่มอ่าน แนะนำให้ลองไล่อ่านกันดูตั้งแต่ตอนแรกนะครับ ตอนที่แล้วเราคุยกันถึงเรื่อง ชื่อเว็บไซต์และหน้าที่จำเป็นต้องมี วันนี้เราจะลงรายละเอียดสำคัญมากๆกัน นั้นคือการออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์ไม่ใช่เรื่องของความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นจะต้องทำให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมได้รับประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม ให้สามารถค้นหาสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ง่าย สบายตาตกแต่งอย่างดี สนุกกับบทความ และมีส่วนร่วมให้มากที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา ทั้งหมดนี้เราเรียกง่ายๆว่า User Experience หรือ ประสบการณ์ของผู้ใช้
สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องมีสำหรับการสร้าง User Experience
1.สถาปัตยกรรมของเว็บไซต์(Website Architecture) การออกแบบที่เน้นการใช้งาน เปรียบเสมือนกับร้าน ที่เราออกแบบตั้งแต่ทางเดินเข้าร้าน การตกแต่งภายในร้าน ทางเดินระหว่างตู้โชว์สินค้า จุดจ่ายเงิน สิ่งที่หน้าสนใจก็คือ ปัจจุบันเว็บไซต์ส่วนใหญ่ จะออกแบบให้ผู้ใช้เข้าถึงหน้าที่ต้องการด้วยการคลิ๊กลิงค์ไม่เกินสองครั้ง
2.สีหลักของเว็บไซต์(Colors) สีเป็นตัวตัดสินความสวยงาม ความทันสมัย ความประทับใจตั้งแต่แรกเข้า ก็ของการใช้สีส่งผลถึงแบรนด์และการจดจำของธุรกิจ ก็ของการใช้สีคือ ใช้ไม่เกิน 3 สี โดยแบ่งการใช้เป็น สีหลัก 60% สีรอง 30% และสีที่สามเป็นสีแต้มใช้ 10% ของหน้าเวปหนึ่ง การใช้สีนั้นส่งต่อความรู้สึกของผู้ชมได้ครับ ยกตัวอย่างสีแดง-สื่อถึงความตื่นเต้นความเร่งด่วน สีเหลือง-ความสุขการมองโลกแง่ดี สีขาว-เรียบง่าย จริงใจบริสุทธิ์ เดี๋ยวบทความหน้าจะลงรายละเอียดเรื่องการใช้สีให้ครับ
3. Call To Action(CTAs) หรือการทำBanner โดยอาศัยคำพูดหรือปุ่ม ที่เราต้องการให้ ลูกค้าหรือผู้เยี่ยมชม ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ ยกตัวอย่างเช่น Register Now (ลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูล) ส่วนใหญ่จะใช้เป็น Popup หรือ Banner ขนาดใหญ่ติดอยู่หน้าHomepage
4. ตัวอักษรและส่วนท้ายของหน้าเพจ (Font&Footer) ทั้งสองส่วนผู้สร้างเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญ เรื่องตัวอักษร เราจำเป็นต้องหมั่นตรวจสอบว่า อักษรนั้นๆสามารถแสดงผลได้ทั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ และบนมือถือได้เหมือนกันหรือไม่ บางธุรกิจจำเป็นต้องดูตัวอักษรควบคู่กับภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วยครับ ส่วนท้ายของเพจ(Footer) ถือว่าเป็นมาตราฐานในการทำเว็บไซต์ไปแล้วครับ ผู้ทำได้ใส่ลิงค์ที่มีทั้งหมด เพื่อให้ผู้ใช้เห็นเมนูภาพรวมของทั้งเวป(Sitemap) หรือเราอาจจะใส่เบอร์ติดต่อหรือที่อยู่ของเราไว้ก็ได้ครับ
5. เมนูเว็บไซต์ (Site Menu) เป็นตัวหลักอีกตัวที่จะต้องนำไปวางในตำแหน่งหลัก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นเพื่อเลือกเปลี่ยนหน้า ไปหน้าที่ต้องการได้ ถ้าจะให้ดีควรจะเป็นแบบแสดงผลถาวรเลย เวลาผู้ใช้ได้เลื่อนหน้าจอลงมาเมนูดังกล่าวก็ควรจะปรากฏให้เห็นด้วย ผู้ใช้จะได้ไม่ต้องเลื่อนกลับไปด้านบนของหน้าครับ
6.ตำแหน่งพักสายตา(White Space) จะเป็นช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่าง รูปภาพ ตัวอักษร หรือแบนเนอร์ต่างๆ เป็นช่องว่างที่ปล่อยเอาไว้เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมได้พักหายใจ ทำให้เว็บไซต์ของเราดูไม่แน่นจนเกินไป
ต่อมาก็เข้าสู่ช่วงสำคัญที่สุดในการสร้างเว็ปนั้นก็คือ การปรับจูน SEO
ผมเชื่อว่าหลายๆท่านนั้น สามารถออกแบบเว็บไซต์ได้อย่างเฉียบขาด แต่มีหลายท่านที่ยังไม่รู้ วิธีว่าจะทำให้อัลกอริทึ่มของ Search Engine ใหญ่ๆ หันมามองเว็บไซต์ของเราได้อย่างไร วันนี้เลยถือโอกาสพาไปแนะนำการทำ SEO เบื้องต้นฉบับย่อย่อยง่ายๆ กัน ถ้าใครสนใจฉบับเต็มก็สามารถตามไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ได้ครับ (บทความเทคนิคการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ถูกใจกูเกิลตอนที่1)
คีย์เวิร์ด (Keyword) นั้นก็คือคำค้นหาที่ ผู้คนหรือกลุ่มลูกค้าของเรามักจะพิมพ์ เพื่อถามกูเกิล เพื่อหาคำตอบในสิ่งที่เขาถาม ดังนั้น การที่จะนำพาผู้คนเข้ามาเยี่ยมเว็บไซต์ของเรา เราจึงต้องมาเดากันว่าคำไหนที่คนมักจะพิมพ์ เพื่อให้เจอธุรกิจเรา เมื่อเราเจอคำที่ต้องการ ยกตัวอย่าง เราเปิดเว็บไซต์เกี่ยวกับ ขายจักรยานที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เราก็อาจจะหาคีย์เวิร์ดของเราเป็น “จักรยานญี่ปุ่นราคาถูก” “จักรยานคันแรกที่ต้องมี” หลังจากนั้นเราก็นำคีย์เวิร์ดเหล่านั้น มาใส่ในส่วนของโฮมเพจหน้าแรก ไตเติ้ลเพจ(ตำแหน่งชื่อของเพจ) หรือคำอธิบายเพจนั้น เราอาจจะนำไปใส่ในส่วนของบทความที่เราเขียนก็ได้ครับ แนะนำว่าในหนึ่งหน้าของเว็บไซต์เราควรจะมีคีย์เวิร์ดหลักๆที่เกี่ยวกับหน้านั้นๆ
ใส่ข้อความที่เกี่ยวกับหน้าเพจนั้นๆ (On-Page SEO) หลายๆโปรแกรมหรือเว็บที่ช่วยออกแบบเว็บไซต์จะมีส่วนที่ให้ข้อมูลกับ Search Engine โดยตรง เราเรียกส่วนนี้ว่า Meta-Data ไม่ว่าจะเป็น URL(ลิงค์ที่อ่านรู้เรื่อง) SEO Title และในส่วน Description คำอธิบายหลักในหน้านั้น ข้อมูลพวกนี้คนที่มาชมเว็บจะไม่เห็นครับ มีไว้เพื่อให้กูเกิลบ๊อตนำไปจัดอันดับบนกูเกิลได้
พยายามเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหา (Content Hierarchy) กูเกิลชอบเว็บไซต์ที่จัดเรียงข้อมูล รายละเอียด ความสำคัญ เป็นลำดับครับ โดยเนื้อหาชื่อหัวข้อต้องให้ความสำคัญมากที่สุด หัวข้อย่อย ก็ต้องเน้นขนาดของตัวอักษรเรียงกันลงมา ส่วนเนื้อหานั้นก็ควรจะกระชับ ทั้งนี้จะส่งผลให้ผู้อ่าน จับใจความในเนื้อหาของเว็บไซต์ หรือบทความเราได้เร็วขึ้นด้วย
พยายามเชื่อมหน้าร้านจริงกับเว็บไซต์ให้ได้ (O2O-Offline to Online) จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่มีหน้าร้าน หน้าออฟฟิศ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้ามาใช้บริการได้ กูเกิลได้ออกบริการ Google My Business เพื่อให้เราได้ปักหมุด ใส่กิจการลงไปบน Google Map สามารถใส่รายละเอียด เวลาเปิดปิด ภาพหน้าร้าน ภาพสินค้า ภาพต่างๆ บน Googel My Business ยังเชื่อมต่อกับเว็บไซต์หลักของเราได้ด้วยครับ การรีวิวของลูกค้าก็ทำได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันเราสามารถโพสอัพเดตข้อมูลล่าสุดของกิจการผ่านทางนี้ได้เลย
อย่าลืมใส่ชื่อบนภาพหรือมิเดียของเรากันด้วย (Alt Text) อัลกอริทึ่มของกูเกิลนั้น สามารถมองเห็นข้อความ ตัวอักษรบนเว็บของเราได้อย่างดี แต่สิ่งที่มันมองไม่เห็นก็คือ ภาพต่างๆ หรือมิเดียต่างๆจนกว่าเราจะต้องใส่รายละเอียดบนภาพนั้นๆ กูเกิลถึงจะเข้าใจได้ เราเรียกข้อความเหล่านั้นว่า “Alt Text” ใส่รายละเอียดเกี่ยวกับภาพลงไป ถ้าให้ดีควรมีชื่อของกิจการเราใส่ไปด้วย ยกตัวอย่าง “ภาพอธิบาย Alt Text | Noonnum” เป็นต้น
ตรวจสอบลิงค์ต่างๆให้มีคุณภาพเสมอ (Internal Linking) กูเกิลให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้เป็นอย่างมาก ถ้าผู้ใช้คลิ๊กไปที่ลิงค์ใดลิงค์หนึ่ง หน้าปลายทางจำเป็นต้องเป็นลิงค์ที่ถูกต้อง ต้องเป็นลิงค์ที่ไม่เสีย ถ้าคลิ๊กไปแล้วไม่มีหน้าเพจปลายทางปรากฏ ถือว่าเป็นลิงค์เสียครับ ถ้ามีลิงค์ที่เสียมากกูเกิลก็จะมองว่าเว็บของเราไม่มีคุณภาพครับ หมั่นตรวจสอบลิงค์ของเราบ่อยๆครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ ในตอนที่สี่นี้ จะเน้นไปที่เนื้อหาสนุกๆเยอะหน่อย แต่อย่าเพิ่งรีบเบื่อกันนะครับ ในบทความตอนที่ห้า เราคงจะคุยกันในรายละเอียด วิธีทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก สร้างความสัมพันธ์กับคนที่มาเยี่ยมชมติดตามได้ในตอนหน้าครับ สำหรับใครที่ไม่มีเวลาในการสร้างเว็บไซต์ หรือทำการตลาดออนไลน์ สามารถให้หนุนนำเราช่วยได้นะครับ หนุนนำเราให้บริการสร้างเว็บไซต์ ช่วยทำ SEO และทำการตลาดทางดิจิตอลให้กับธุรกิจของทุกคนครับ สามารถคลิกที่นี้เพื่อนัดเวลาคุยกับเราได้ตลอดครับ
Comments