top of page
  • Writer's pictureNum | Sahathust

ทำความรู้จักกับ CFRs ผู้ช่วยอันดับหนึ่งของ OKRs | Noonnum Podcast : EP54

Updated: May 29, 2020

สิ่งที่ขับเคลื่อนองค์กรหรือ ธุรกิจทุกอย่างก็คือ คน เป็นส่วนกลไกสำคัญของทุกองค์กรธุรกิจ ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น ก็ล้วนมาจากคนแทบจะทั้งสิ้น การบริหารคนจึงจำเป็นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เราจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วย หนึ่งในเครื่องมือเหล่านั้นที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาก็คือ CFRs เครื่องมือตัวนี้ เป็นผู้ช่วยที่ยอดเยี่ยมที่สุดของ OKRs การที่คนจะทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม ที่สุดก็คือ คนเหล่านั้นจำเป็นต้องมีเป้าหมายที่ท้าทายและทำงานที่มีความหมาย OKRs เข้ามาช่วยในจุดนี้ แต่การที่จะกระตุ้นให้คนเหล่านั้น เข้าไปใกล้เป้าหมายได้นั้น CFRs จะเป็นเครื่องมือสำคัญ


ทำความรู้จักกับ CFRs ผู้ช่วยอันดับหนึ่งของ OKRs | Noonnum.com

ใครยังไม่ได้อ่านบทความก่อนหน้าเกี่ยวกับ ORKs ที่บริษัทอันดับแรกๆของโลก อย่างกูเกิล อินเทล ไมโครซอฟท์ อเมซอน เฟสบุ๊ค และอีกหลายบริษัทยักษใหญ่ที่นำไปใช้ สามารถตามไปอ่านกันได้ กับทำไมเราต้องใช้ OKRs ยิ่งสถานการณ์ที่หลายคนต้องทำงานที่บ้าน จากเหตการณ์ที่ไม่ปกติ บริษัทหลายๆที่จำเป็นต้องรีบนำ OKR มาใช้กัน

ในบทความนี้ผมจะขอลงรายละเอียดคร่าวๆ ค่อยๆไป ค่อยๆ ทำความรู้จัก CFRs กันนะครับ เรามาเริ่มกันเลยครับ


CFRs คืออะไร

CFRs คือ เครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการบริหารความสัมพันธ์ของคน โดยเน้นความโปร่งใส การเปิดใจ การทำงานเป็นทีม เปรียบเสมือนตัวจุดไฟในองค์กร ได้สร้างพลังในการขับเคลื่อนการทำงาน ให้เข้าถึงเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ไปสู่ความสำเร็จ ซึ่ง CFRs จะประกอบไปด้วย


C ย่อมาจาก Conversation

การพูดคุย การติดต่อสื่อสาร เราจำเป็นต้อง พูดคุยและสื่อสารกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ทุกครั้งที่มีปัญหา การสื่อสารจะทำได้ยากภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกติ เราควรเปิดใจในการรับฟัง และร่วมกันหาข้อเท็จจริง อย่าเพิ่งรีบกระโดดไปที่วิธีการแก้ไข เราควรวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาให้เจอก่อน และถึงจะหาทางออก แล้วผลักดันให้เกิดการแก้ไขในปัญหานั้น เรามีจุดประสงค์เดียวคือ เรียนรู้จากปัญหานั้น เพื่อเติบโตและพัฒนาขึ้นทั้งทีม สิ่งที่จะเป็นอุปสรรคที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องอารมณ์ในขณะที่หาทางแก้ไข ให้วางอารมณ์และความรู้สึกไว้ข้างๆ ถ้ายังไม่พร้อมก็อย่าเพิ่งกระโดดเข้าไปร่วมแก้ปัญหานั้นๆ


ปีเตอร์ ดรักเกอร์ นักคิดที่บุกเบิกแนวคิดด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่ ได้ให้ความสำคัญกับการพูดคุยกันหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างหัวหน้า กับลูกน้อง ถ้าได้คุยกันมากกว่า 90นาทีจะช่วยให้การทำงานของลูกน้องมีคุณภาพที่ดีต่อเนื่องกันถึงสองสัปดาห์


ประเด็นสำคัญในการพูดคุยกันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หัวหน้าพูดกับลูกน้อง (อ้างอิงจากหนังสือ Measure What Matter)

  1. พูดคุยกันเพื่อช่วยตั้งเป้าหมายสำหรับ OKRs และตรวจสอบความสอดคล้อง อย่างที่เราทราบกันดี ถ้าเรานำ OKRs มาปรับใช้ในองค์กร เราจำเป็นต้องตรวจสอบให้บ่อยครั้ง อาจจะเป็นรายไตรมาสก็ได้ เพื่อสอบถามความก้าวหน้า หรืออุปสรรคที่แต่ละคนเจออยู่

  2. พูดคุยเพื่อติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เป็นการพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้น และแก้ไขปัญหาที่จำเป็น

  3. พูดคุยเพื่อโค้ชชิ่ง แบบสองทิศทาง ทำให้ลูกน้องพัฒนาจุดแข็ง และช่วยให้หัวหน้าพัฒนาจุดอ่อนของมัน

  4. พูดคุยเรื่องความก้าวหน้าในอาชีพ ช่วยพัฒนาทักษะในการทำงาน กำหนดแนวทางความก้าวหน้าในอาชีพ และทำให้เขาเห็นโอกาสในการเติบโตในการทำงาน

  5. พูดคุยเพื่อทบทวนผลปฏิบัติการเล็กน้อย เป็นการทบทวนงานที่วางแผนกันเป็นรายสัปดาห์ ว่างานไหนคืบหน้าไปแล้วบ้าง


F ย่อมาจาก Feedback

การให้คอมเมนต์ การแนะนำให้ผู้ที่ได้รับฟีดแบ็ค รู้ตัวแก้ไขในจุดอ่อนนั้น การให้ Feedback ที่ดีแตกต่างจาก การติเตียน เพราะเป็นการให้ต่อหน้า และมีจุดประสงค์ให้คนนั้นปรับตัว และจะสามารถทำงานร่วมกันกับผู้ให้ได้ การให้ Feedback เหมือนเป็นยาขม ผู้ที่รับ Feedback โดยส่วนมากจะรับไม่ได้ในช่วงแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ที่รับ Feedback จะรู้สึกขอบคุณที่เราได้ให้คำแนะนำกับเขา เพื่อให้เขาพัฒนาขึ้น เราจำเป็นต้องวางอารมณ์ไว้ข้างๆเหมือนกัน เนื่องจากถ้าผู้ให้พูดด้วยอารมณ์ สารที่ส่งไปอาจจะทำให้อีกฝ่ายเกิดการต่อต้านได้ทันที แล้วจะกลายเป็นการทะเลาะกัน เราควรเซ็ตหรือจัดเวลาในการให้ Feedback กับทีมโดยเฉพาะ และควรเป็นการ Feedback ทั้งสองฝ่ายไม่ควรมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับ Feedback แต่เพียงคนเดียว ควรจะพูดคุยกันต่อหน้า การใช้อีเมล์ก็สามารถทำได้ แต่ควรจะมีการกล่าวนำให้ตรงจุดว่าผู้ให้อยากช่วยให้ผู้รับพัฒนาในจุดอ่อนนั้น บริษัทที่ดีควรเปิดโอกาสให้ทุกตำแหน่ง ไม่ว่าสูงหรือต่ำสามารถให้ Feedback ถึงกันได้หมด สิ่งที่พึงระวังคือ เราต้องเข้าใจบริบทด้วยการเปิดใจรับฟังกันด้วยครับ


การฟีดแบคส่งผลกระทบกับการทำงานได้มาก และต้องมีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจง จะดีที่สุด

  • การให้ฟีดแบคเชิงลบ “การประชุมครั้งที่แล้ว คุณเริ่มต้นได้ช้า เรามีเวลาประชุมเพียง 40 นาที คุณพูดเกริ่นนำเกือบ 20 นาที ทำให้ไม่สามารถสรุปหรืออธิบายรายละเอียดได้จบภายในเวลา”

  • การให้ฟีดแบคเชิงบวก “คุณนำเสนองานออกมาได้ดีมาก ตอนช่วงเปิดเรื่องคุณดึงดูดความสนใจได้ยอดเยี่ยม และผมชอบตอนที่คุณปิดท้ายสรุป คุณเตรียมตัวมาได้ดี”


R ย่อมาจาก Recognition

การยกย่องชมเชย การใส่ใจ หรือ มองเห็นคุณค่าในตัวคนอื่น การชื่นชมในความพยายาม การมอบความสำเร็จด้วยคำพูด การให้กำลังใจ หรือ การกล่าวขอบคุณกับทีมงาน สิ่งเหล่านี้เป็นเคล็ดลับของ CFRs ที่มีผู้ใช้กันน้อยมาก การที่จะทำงานด้วยความสนุก ความท้าทาย เพื่อบรรลุเป้าหมายบน OKRs การ Recognition สำคัญที่สุด เป็นส่วนที่ขับเคลื่อนทีมให้ไปถึงเป้าหมายได้ เราควรทำทั้งต่อหน้าและรับหลังในการชื่นชมคนคนนั้น มนุษย์เราสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความสัมพันธ์ที่ดี เป้าหมายในการทำงานของเราคือ การสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับเพื่อนที่เรานั่งทำงานด้วย องค์กรที่ดีไม่ควรให้พนักงานแข่งกัน แต่ควรให้พนักงานแข่งกับตัวเองมากกว่า และการไปถึงเส้นชัยของพนักงานคนนั้นได้ คุณต้องเป็นคนมอบเหรียญ และชื่นชมพนักงาน หรือเพื่อนร่วมงานคนนั้น ในความพยายามของเขา ในทางตรงข้ามกัน ถ้าเขาทำไม่สำเร็จแต่สิ่งที่เขาได้เรียนรู้ในระหว่างทางที่เขาพยายาม เราก็สามารถให้กำลังใจและชื่นชมได้เช่นกัน

การยกย่องชมเชยกันอย่างต่อเนื่องมีส่วนสำคัญในการสร้างความผูกผันของพนักงานต่อองค์กร การพูดว่า ขอบคุณเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่จะสร้างความผูกผันให้กับทีม


ทำไมเราต้องสื่อสาร ด้วย CFRs กัน

การสื่อสารด้วย CFRs ทำให้ทีมได้เช็คอัพกันอยู่ตลอดเวลา ตรวจสอบกันว่ามีเป้าหมายเดียวกันหรือไม่ ทำให้รับรู้การเป็นส่วนหนึ่งของทีม คนเราจะรู้สึกว่างานนั้นมีความหมายก็ต่อเมื่อเรารู้สึกถึงอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง เวลาที่เราเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน ยกตัวอย่าง ทำไมคุณหมอหรือพยาบาลหลายท่านถึงไม่กลัวไวรัสที่ระบาดกันอยู่ทำไม คุณหมอหรือพยาบาลเหล่านั้น เขามองไปยังจุดหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเขาเอง ทำให้ข้างในของพวกเขามีพลังขับเคลื่อนมหาศาล เชื้อโรคทำอะไรเขาไม่ได้ เขามีกระบวนการป้องกันตัวเอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาของผู้ป่วย ผมเชื่อว่าบุคลากรที่อยู่แถวหน้าตอนนี้ ใช้ CFRs กันโดยธรรมชาติโดยมีเป้าหมายให้คนป่วยเป็นศูนย์


เราจำเป็นต้องใช้ CFRs กันบ่อยแค่ไหน

ชีวิตของเรามีขึ้นมีลง บางวันก็มีปกติสุข บางเวลาก็มีปัญหาทั้งส่วนตัว ปัญหาครอบครัวต่างๆ คนทำงานด้วยกันทุกคนนอกจากเรื่องงาน เราจำเป็นต้อง Conversation กันด้วยเรื่องอื่นๆในชีวิตบ้าง หมั่นถามสารทุกข์สุกดิบกับ ก่อนที่จะคุยเรื่องงาน ถามคนที่เราจะคุยด้วยว่าตอนนี้ชีวิตเป็นยังไงบ้าง? ยิ่งคนที่เป็นหัวหน้าสิ่งแรกที่พูดคือ คุณเป็นอย่างไรบ้างตอนนี้ มีอะไรที่เผมพอช่วยได้บ้างหรือไม่? คำถามเหล่านี้เป็นเหมือนน้ำมันที่หล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ให้ขับเคลื่อนไปได้ โดยปกติในทีม หัวหน้าจะมีเวลาFeedback กับลูกน้องแต่ละคนเดือนละครั้งโดยใช้ CFR เป็นฐานการสื่อสาร ลูกน้องก็ได้โอกาสคุยเรื่องส่วนตัว หรือ Feedback กลับไปที่หัวหน้าได้โดยตรง

ผู้บริหารที่เก่งพอเขาจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงาน สื่อสารกับทีมให้ได้มากที่สุด


เราใช้ CFRs มาใช้ในการติดต่อออนไลน์ได้หรือไม่

ในสถานการณ์ที่หลายคน หลายองค์กรต้องทำงานที่บ้านเราสามารถใช้การสื่อสารออนไลน์เข้ามาใช้ได้ สิ่งที่ควรระวังคือ การสื่อสารด้วย วัจนะภาษาหรือข้อความ คำพูดเพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้การสื่อสารผิดพลาด การ Chat กันนั้นมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด การพูดคุยผ่านโทรศัพท์เรายังได้ยินน้ำเสียงของผู้พูด ส่วนการใช้วีดีโอออนไลน์สื่อสารกันทำให้เราเห็นอวัจนะภาษา ทั้งท่าทาง น้ำเสียง และข้อความของผู้พูดได้ดีที่สุด แต่ก็ยังไม่เท่าการเจอตัวจริงกันอยู่ดี สิ่งที่ต้องระวังคือ การใช้ Video Conference นั้นผู้พูดจะไม่ได้สบตากันเนื่องจากตำแหน่งของกล้องไม่ใช่ตำแหน่งจริงของดวงตา ทำให้การสื่อสารทำได้ลำบากมากหน่อย แต่อย่างไรก็สามารถใช้หลักการ CFR เข้ามาได้ ข้อดีของการใช้วีดีโอออนไลน์คือ คุณสามารถ คุยกันหนึ่งต่อหนึ่ง หรือคุยกันเป็นทีมได้สะดวก และสามารถบันทึกการประชุมกันได้สบายๆเลย


ลองนำ CFRs ไปใช้ควบคู่กับ OKR กันนะครับ จะทำให้การทำงานตอนนี้เป็นไปด้วยความสนุก และความท้าทายใหม่ๆ ถ้าใครมีประสบการณ์ CFRs ลองคอมเมนต์มาพูดคุยกันได้


สามารถฟัง Noonnum Podcast EP54 ได้ที่ Spotify:




สามารถฟัง Noonnum Podcast EP54 ได้ที่ SoundCloud:



Noonnum Studio | สร้างเว็บไซต์ธุรกิจ | Noonnum.com

หนุนนำเราช่วยธุรกิจให้ปรับตัวกับสถานการณ์ตอนนี้ เราช่วยสร้างเว็บไซต์ ทำการตลาดออนไลน์ จัดอบรมให้ทีมงานมีความสามารถ มีทักษะทางด้านออนไลน์มากขึ้น สามารถปรับตัว ปรับการทำงานให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ใหม่ๆได้ เรามีทีมงานทำวีดีโอโปรโมทธุรกิจ เรามีทีมงานทำดนตรีเพื่อส่งเสริมธุรกิจดิจิตอลออนไลน์ให้มืออาชีพมากขึ้น สามารถติดต่อพูดคุยขอใบเสนอราคา ได้ที่ลิงค์นี้ หรือ ติดต่อกับเราทาง Line OA: @noonnum


1,325 views0 comments

Comments


bottom of page