top of page
  • Writer's pictureNum | Sahathust

Practice meditation to increase brain power (ฝึกสมาธิเพิ่มพลังสมอง)

วันนี้เอาเทคนิคที่แอดมิน ทำเป็นประจำมาเล่าสู่กันฟัง และขอออกตัวก่อนว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แอดมินทดลองเองและได้ผลลัพธ์บางอย่างมาครับ อาจจะเป็นมุมมองเฉพาะบุคคลครับ ถ้ามีใครทำและได้ผลแบบอื่นๆก็สามารถมาคอมเมนท์ มาแชร์ประสบการณ์กันได้ครับ ขอเล่านิดนึงนะครับ เมื่อก่อนนั้นเคยรู้สึกว่าตัวเอง คุมอารมณ์บางอย่างไม่ได้ รู้สึกว่าตัวเองหงุดหงิด จากกระทบ กระทั่งบางอย่าง หงุดหงิดคนรอบข้างทีมงาน พี่น้อง ไม่ได้ดั่งใจเราไปสะหมด บางครั้งก็โมโหจนพาลทำอะไรไม่ได้เลยทั้งวัน พอดีก็มีโอกาสได้ อ่านหนังสือ และเคยฟังมาว่าการนั่งสมาธิ จะทำให้อาการที่เคยเป็นลดหายไปบ้าง แต่นั่งสมาธิแบบไหนหล่ะ เมื่อก่อนตอนเรียนพุทธศาสนาก็เคยถูกสอนให้นั่งแบบนับเลข คงเป็นแบบนั้นหรือเปล่า?


ฝึกสมาธิช่วงเช้าและเที่ยงมีประโยชน์มาก | Noonnum.com
ฝึกสมาธิเพิ่มพลังสมอง | Noonnum.com

ว่าแล้วก็เลยเปิด App ในมือถือครับ ปรากฏว่ามีหลายตัวเลยที่จะช่วยและให้ความรู้ในการนั่งสมาธิ เลยเลือกมาหนึ่งตัว และทดลองนั่งครับ การนั่งสมาธิโดยใช้ App ช่วยสามารถเลือกได้ว่า จะให้มีเสียงไกด์หรือไม่ว่าจะต้องนั่งยังไง สามารถเลือกเสียงบรรยากาศได้ด้วย ว่าจะให้มีเสียงคลื่น เสียงน้ำตก เสียงลำธาร เสียงฝน เสียงต่างๆเพื่อช่วยให้เราผ่อนคลายได้ สามารถตั้งเวลาได้การนั่งได้ด้วยเริ่มจาก 5 นาทีจะยาวสักครึ่งชั่วโมง หรือนานกว่านั้นก็ได้ แรกๆผมนั่งได้ไม่นานครับ 15 นาที ก็นั่งไม่ไหวแล้ว รู้สึกความคิดมันผุดขึ้นมามากและบางครั้งเราก็มีอารมณ์ตามความคิดไปเรื่อยๆ วันต่อไปก็เลยพยายามนั่งในช่วงเช้าๆที่ความคิดยังไม่ค่อยมีมากอะไรเลยนั่งได้นานขึ้นหน่อย ปัจจุบันทำมาเกือบเข้าเดือนที่สี่แล้ว นั่งช่วงเช้ามืดหลังจากตื่นได้ 30 นาที ช่วงเย็นหรือบางวันช่วงกลางวันสัก 10 นาที และนี้ก็เป็นความรู้สึกที่สัมผัสได้ครับ


รู้สึกถึงอารมณ์ตัวเองได้ดี | Noonnum.com
รู้สึกตัว รู้สึกถึงอารมณ์ได้เร็วขึ้น ถ้าฝึกสมาธิ | Noonnum.com

01 รู้สึกรู้ตัวรู้อารมณ์ได้เร็วขึ้นครับ บางครั้งเราโมโห ก็จะรู้ตัวเลยว่าโมโหด้วยเหตุอะไร สามารถพาตัวเองออกมาจากเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุได้เร็วขึ้น โมโหยังอยู่นะครับ แต่แค่รู้ตัวเร็วขึ้น ในระหว่างที่นั่งสมาธินั้น ทำให้เรารู้สึกเลยว่า เราสัมผัสกับอารมณ์ต่างๆ เหมือนเรานั่งดูฉากต่างๆมันขึ้นมาและเราก็รู้อารมณ์ที่เราสัมผัสกับฉากนั้นๆ บางครั้งก็จะติดอยู่กับฉากที่ทำให้เรามีอารมณ์สุขอยู่นาน จนต้องใช้ลมหายใจมาช่วยให้รู้ตัว ช่วงแรกๆหรือวันไหนที่ใจไม่ค่อยนิ่งมักจะเลือกให้มีเสียงไกด์ในการนั่ง เมื่อนั่งเสร็จก็จะนิ่งขึ้นมากๆ



อยู่กับงานได้นานขึ้นถ้านั่งสมาธิ | Noonnum.com
โฟกัสกับงานที่อยู่ตรงหน้าได้มากขึ้น | Noonnum.com

02 รู้สึกว่าสามารถ โฟกัสได้ดีขึ้น อันนี้เห็นผลมากๆเลย ปกติผมจะเป็นคนที่ ทำอะไรอยู่บางครั้ง มีความคิดใหม่ ผ่านเข้ามาก็เปลี่ยนไปทำสิ่งใหม่นั้นทันทีเลย ทำให้งานมักจะไม่ค่อยเสร็จ บางทีสามารถทำงานบนโต๊ะ ทำเว็บไซต์ หรือวางแผนอยู่ดีๆ ก็มีความรู้สึกอยากเล่นมือถือ หรือ อยากเช็ค Facebook หน่อย ก็จะเพลินครับ หายไปนั่งถูมือถือเล่น เวลาก็ผ่านไปแบบอย่างเร็ว ตอนนั่งสมาธิใหม่ๆ ตอนทำงานก็จะแอบไปเพลินกับมือถือมีบ้างนะครับ แต่สักแป้บเดียวรู้ตัวว่าตัวเองทำอะไร เดี๋ยวนี้ก็จะสามารถบอกให้สมองจดจ่ออยู่กับงานตรงหน้าได้นานขึ้น มากขึ้น ไม่วอกแวก ยิ่งตอนที่ทำงานก็จะรู้เวลาทำงาน ตอนที่เล่นกับลูกก็จะเล่นกับลูก ดำรงอยู่กับเขา ไม่คิดเรื่องงาน ทำให้เราใช้เวลามีคุณภาพดีขึ้นครับ


โฟกัสในสิ่งที่ทำส่งผลให้งานทำได้ดีขึ้น | Noonnum.com
การทำสิ่งที่ยาก ต้องอาศัยความต่อเนื่อง และโฟกัสอยู่ตรงนั้น | Noonnum.com

03 เพิ่มพลังใจ (Will Power) เมื่อก่อนเคยคิดว่าคนเราเกิดมามีพลังใจไม่เท่ากัน คนนั้นทำไมเขาเก่งจัง ทำไมเขาถึงนั่งอ่านหนังสือได้ทั้งวัน ทำไมคนนั้นเขาถึงวิ่งได้จบมาราธอนได้ อ้อเขาคงเกิดมาอึด พลังใจเขาคงมากกว่าคนอื่น เราคงทำไม่ได้ แต่เพิ่งมารู้ตอนหลังจากหนังสือ “The Power of Habit” (ผู้เขียน Charles Duhigg) ว่า Will Power นี้เป็นเสมือนกล้ามเนื้อหนึ่ง ถ้าเราได้ฝึกหรือได้ใช้บ่อยๆจะทำให้เรามีมากขึ้น การนั่งสมาธิก็เป็นการฝึกพลังใจ รูปแบบหนึ่งเหมือนกัน ยิ่งนั่งยิ่งทำให้ให้รู้สึกได้เลยว่า พลังใจในการทำอะไรใหม่ มีมากขึ้น ล่าสุดแอดมินสามารถ ลงเรียนคอร์สออนไลน์เพื่อเพิ่มความรู้ ปรากฏว่า สามารถเรียนจบบางคอร์สได้ ซึ่งเมื่อก่อนไม่สามารถคุมให้ตัวเอง มานั่งเรียนหน้าคอมพิวเตอร์ได้ มักจะมีอะไรดึงดูดความสนใจตลอดเวลา เกมส์ ซีรีย์ หรือ ของกินนี้ตัวดีเลยครับ แรงดึงดูดโหดมาก แต่รู้สึกได้เลยว่าเราอดทนปฏิเสธได้


การเข้าใจคนอื่นเป็นคุณสมบัติอีกตัวหนึ่งของการทำงานร่วมกัน | Noonnum.com
การเข้าใจคนอื่น เริ่มต้นจากการฟัง | Noonnum.com

04 รู้สึกและเข้าใจคนอื่นได้มากขึ้น หลังจากที่เราได้ทำงานร่วมกับทีมงาน เมื่อก่อนเราทำงานบางอย่างกันไม่ประสาน ไม่ลงตัว พาลไปมีอารมณ์โมโห ตอนนี้เรารู้สึกเลยว่า หลังจากที่ได้นั่งสมาธิ เราสามารถฟังทีมงาน หรือคนอื่นได้มากขึ้น เข้าใจในบริบทประกอบของเขา ทำให้รับในความคิดที่แตกต่างกันได้ ถอยได้ แก้ได้ บางครั้งสามารถอธิบายได้เลยว่า เราและเขาต่างมองคนละมุมในเรื่องเดียวกัน และทำให้ทีมคิดไปในทางเดียวกันได้ งานที่ออกมาก็เลย สำเร็จ และใช้เวลาสั้นลงครับ สามารถทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ดีขึ้น เมื่อก่อนต้องออกตัวว่าเป็นคนที่ มองแบบโลจิก เหตุผลล้วนๆ ถ้ามีหน้านี้ก็จะต้องตามด้วยหน้านี้ ข้ามไม่ได้ เปลี่ยนไม่ได้ แต่เชื่อมั้ยครับว่า รู้สึกว่าการนั่งสมาธิค่อยๆคลายสมองส่วนนี้ให้เบาลงให้เอนได้ยืดหยุ่นได้มากขึ้นครับ สามารถมองในมุมมองใหม่ๆ ไม่ยึดติดในรูปแบบเดิมได้ครับ แต่เรื่องนี้คงต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะเป็นไอเดียที่ใช้ได้จริง


การฝึ่งทำสมาธิในที่ทำงาน | Noonnum.com
การปรับให้การฝึกสมาธิเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน ส่งผลลัพธ์ได้ยอดเยี่ยม | Noonnum.com

มีการวิจัยของ Harvard Business Model ตีพิมพ์ปี 2017 ระบุว่าการนั่งสมาธิ 10 นาทีมีสามารถเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ได้ โดยการทดลองให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็นสามกลุ่มโดยโจทย์ว่าให้พยายามคิดระบุว่าอนาคตสามารถใช้ Drone (เครื่องบินบังคับมือถือขนาดเล็ก)ไปทำอะไรได้บ้าง? โดยกลุ่มที่หนึ่งให้แต่ละสมาชิกทำสมาธิก่อนประมาณ 10 นาทีแล้วค่อยหาไอเดียกัน กลุ่มที่สองทำสมาธิแบบให้หลับตาคิดถึงไอเดียเลยหลังจากนั้นคุยกัน และกลุ่มสุดท้ายให้คุยกันเลยเพื่อหาคำตอบ ผลการทดลองออกมาพบว่า กลุ่มที่ทำสมาธิแต่ละคน สามารถคิดถึงไอเดียการใช้ Drone ออกมาได้ถึง 9 ประเภทใหญ่ๆ (มีไอเดียจากการนำ Drone มาทำสวนถึงให้อาหารยีราฟ) ซึ่งแตกต่างจากทั้งสองกลุ่มมากที่มีแค่ 2-4 ประเภทเท่านั้น


ปัจจุบันบริษัทใหญ่ ยกตัวอย่าง บริษัท Google ก็นำการทำสมาธิเขามาจัดเป็นคอร์สอบรม สอนพนักงานในบริษัทกูเกิลในแต่ละปี ซึ่งทำให้ได้รับไอเดียและประโยชน์มหาศาลครับ เอาหล่ะครับ ผมและทีมงาน Noonnum คงจะนั่งทำสมาธิทุกๆเช้าและช่วงเที่ยงหลังทานข้าวเสร็จกันอย่างต่อเนื่องแล้วคุณหล่ะครับ วันนี้เริ่มทำสมาธิกันหรือยัง? สำหรับเพื่อนๆที่ยังไม่มีไอเดียในการทำเว็บไซต์สามารถปรึกษาเราให้ช่วยออกแบบและสร้างเว็บไซต์รวมถึงทำการตลาดออนไลน์ให้ได้นะครับ สามารถกดที่นี้เพื่อนัดคุยกับเราได้เลย

15 views0 comments

Comments


bottom of page