top of page
  • Writer's pictureNum | Sahathust

มารู้จักกับยาสารภาพความจริง และยาสร้างภาพกัน

ใครๆก็โกหกกันทั้งนั้น โกหกว่าไปยิมสัปดาห์ละ 4 วัน โกหกราคารองเท้า โกหกว่าอ่านหนังสือเล่มนั้นจบแล้ว โกหกว่าป่วยทั้งๆที่ไม่ได้ป่วยจริง บอกว่าจะติดต่อกลับไปและก็ไม่เคยทำ บอกว่าไม่เคยนินทา ลับหลังก็นินทากระจาย โกหกว่ามีความสุขดีแต่ภายในใจนั้นเศร้าสุดขีด หรือบอกว่าชอบผู้หญิงและจริงๆแล้วชอบผู้ชาย

เราโกหกเพื่อน โกหกแฟน โกหกเจ้านาย โกหกลูก โกหกพ่อแม่ โกหกภรรยา โกหกสามี โกหกตัวเอง


มาทำความรู้จัก ยาสารภาพความจริง และยาสร้างภาพกัน | Noonnum.com

คุณลองตอบแบบสอบถามสองข้อนี้นะ

คุณเคยลอกข้อสอบมั้ย _____

คุณเคยคิดจะฆ่าใครซักคนมั้ยครับ ______

มีซักเว็บหนึ่งขณะที่กำลังจะตอบคำถาม ที่คุณอยากจะโกหกบ้างมั้ย?


เราเคยสังเกตกันมั้ยครับ ว่าทำไมโพลสำรวจจากแบบสอบถามต่างๆมักจะได้ผลลัพธ์ออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริงเท่าไหร่ อาจจะเกิดจาก อคติหรือ Bias ต่างๆของคนที่ตอบแบบสอบถามหรือเปล่า? แต่นี้คือศตวรรษที่ 21 และมนุษย์ก็ได้สร้างเทคโนโลยีที่พร้อมสำหรับการเก็บข้อมูลไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในกระเป๋ากางเกงมนุษย์ทุกคนอย่างสมาร์ทโฟน รวมถึงหน่วยประมวลผลและพื้นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่โตตามกฏของมัวร์ ปัจจุบันเราได้มีเครื่องมือที่สามารถสำรวจความคิดลึกๆของมนุษย์ได้อย่างแม่นยำ และสิ่งนั้นคือ BigData


มุมมองที่ผมมาชวนคุยในวันนี้ คงเป็น BigData จากข้อมูลจำนวนมากที่ทุกคนพิมพ์ ถามหรือค้นหาผ่านเทคโนโลยีของบริษัทหนึ่ง ที่เรารู้จักกันคือ กูเกิล คนเรามักจะถามกูเกิลในสิ่งที่เรามักไม่กล้าถามใคร เป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้จิตใจส่วนลึกของเราจริง ข้อมูลของกูเกิลนั้นแสดงความจริงที่แม่นยำเหลือเกิน ถึงขนาดบอกเลยว่า การเหยียดผิวของผู้คนในประเทศอเมริกายังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้โดนัลด์ ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา และค่อนข้างเชื่อเลยว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่ ผลอาจจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก หรือข้อมูลของกูเกิลสามารถบอกแม้กระทั่งการสำรวจการ ปกปิดเพศสภาพก็ตาม ไม่มีใครเคยหลอกกูเกิลเลยว่าตัวเองเป็นเพศไหน หรือผู้เชียวชาญสามารถดึงข้อมูลจากกูเกิลทำให้ทราบได้เลยว่า ใครกันจะมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าหรือแนวโน้มในการฆ่าตัวตายบ้าง จากการดึงข้อมูลที่คนคนนั้น พิมพ์ถามในกูเกิล ไม่ว่าเป็นคำว่า “ไม่อยากมีชีวิตอยู่” “เศร้าจัง” “ฉันไม่น่าเกิดมาเลย”


กูเกิลได้รับขนานนามว่า เป็นยาสารภาพความจริง

ปัจจัยที่ทำให้ กูเกิลเป็นยาสารภาพวามจริง นั้นเนื่องจากกูเกิลอยู่บนโลกออนไลน์ และผู้คนมักจะเปิดเผยความในใจโดยที่ไม่รู้สึกผิด ไม่รู้สึกชั่วดี เพราะมันไม่ใช่โลกความจริง เวลาเราเล่นกูเกิลเรามักจะอยู่คนเดียว และไม่มีใครอยู่ใกล้ๆตอนเล่น ด้วยปัจจัยพวกนี้ เรายิ่งเล่าความลับอันดำมืดในตัวเราให้กูเกิลฟังไม่มากก็น้อย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เราพูดความจริง และถามคำถามในสิ่งที่เราต้องการ


ความน่ากลัวของกูเกิล คือมันมักจะเติมคำในช่องว่างให้เรา ซึ่งคำที่เติมส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่มีผู้ใช้จำนวนมากมักพิมพ์ถามกูเกิล ซึ่งข้อมูลประเภทนี้มักจะเป็นแนวคิดลึกๆของคนส่วนใหญ่ซึ่งไม่กล้าเปิดเผยในโลกความจริง ยกตัวอย่าง ถ้าเราลองพิมพ์ในกูเกิลว่า ทำไม____ กูเกิลก็จะแสดงผลคำที่คนส่วนใหญ่พิมพ์ถาม ทำไมท้องฟ้าจึงเป็นสีฟ้า(ซึ่งคำนี้ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง) อันนี้เป็นตัวอย่างที่ดี แต่ถ้าเราพิมพ์ว่า ผมยังปกติอยู่มั้ยหากต้องการที่จะ_____ และกูเกิลก็เติมคำว่า “ฆ่า” อันนี้ เป็นตัวอย่างที่น่ากลัวซึ่งคำไม่เหมาะสมประเภทนี้ ทางกูเกิลได้นำออกไปบ้างแล้ว แต่นั้นก็ทำให้เราได้รู้ว่า กูเกิลมองเห็นโลกต่างไปจากที่พวกเรามองเห็น


กูเกิลแสดงผลว่าคนส่วนใหญ่พิมพ์ถามกูเกิลอะไรกันบ้าง
ถ้าเราพิมพ์คำว่า"ทำไม" กูเกิลจะแสดงคำที่คนส่วนใหญ่พิมพ์ถาม

เวลาคนเราใช้กูเกิล มีแนวโน้มที่จะแสดงแนวคิดแปลกๆ ที่ปกติแล้วจะไม่มีทางนำไปพูดให้ใครฟังแน่นอน นั่นแปลว่า เราสามารถใช้กูเกิลเป็นเครื่องมือในการขุดความลับภายในใจของนุษย์ได้


Google Trend เครื่องมือบอกเล่าความคิดที่อยู่ในใจคน เป็นข้อมูลการเปรียบเทียบได้ว่าคำไหน มีการค้นหามากกว่ากัน อาจจะต้องใช้งานคู่กับ Keyword Planner การทำแบบสำรวจอาจจะไม่ได้ข้อมูล ข้อเท็จจริง เนื่องจากคนที่ตอบแบบสอบถาม อาจจะอยากให้คนสัมภาษณ์ที่เป็นคนแปลกหน้าประทับใจ ยกตัวอย่างมีการสำรวจว่ามีคนที่คนที่จบมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ด้วยเกรดเฉลี่ย 2.2 นั้นมีไม่ถึง 2.5% ในแบบสำรวจแต่ความเป็นจริงเกือบ 11% หรือการตอบแบบสอบถามระบุว่ามีคนบริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยเกือบ 44% ของนักศึกษา แต่ความเป็นจริงคือ 28%เท่านั้น ดังนั้นการสำรวจด้วยแบบสอบถามอาจจะใช้ไม่ค่อยได้ในความเป็นจริง

ถ้ากูเกิลคือ ยาสารภาพความจริง แล้ว Facebok หล่ะคือยาอะไร?

Facebook คือยาสร้างภาพครับ คนเรามักจะโพสท์สิ่งที่ดูดีเกินกว่าความจริงเสมอ ผู้ใช้โดยเฉลี่ยมักจะโพสท์ว่าตัวเองมีชีวิตครอบครัวที่มีความสุข เที่ยวต่างประเทศปีละครั้ง ภาพแต่ละภาพช่างดูดีเหมือนพาตากล้องมืออาชีพไปเที่ยวด้วยเสมอ แต่ความเป็นจริง ชีวิตครอบครัวของพวกเขาช่างดูยุ่งเหยิงเหลือเกิน ในเฟซบุ๊คเรามักจะเห็นหนุ่มสาวไปเที่ยวกันที่สวยๆหรูๆ แต่ในความเป็นจริงนั้น อาจจะนั่งอยู่เฉยเหงาๆอยู่กับบ้านก็ได้


ฟีเจอร์ที่สำคัญที่ทำให้ Facebook ประสบความสำเร็จนั้นก็คือ การฟีดข่าวซึ่งเป็นฟีเจอร์ ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นกิจกรรมของเพื่อนๆทุกคนในหน้าเดียว ถ้าเราใช้เวลา เพียง 5 วินาทีเล่น Facebook อาจจะเพิ่มอัตราการเป็นโรคซึมเศร้าของเราได้ในอนาคต


มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ได้รู้ความลับดำมืดของมนุษย์ ถึงสองเรื่องด้วยกันตอนที่เขาเรียนปีสองใน ม.ฮาร์วาร์ด เขาได้สร้างเว็บไซต์ ชื่อ Facemash ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวจะโชว์รูปนักศึกษาสองคนและให้นักศึกษาคนอื่นตัดสินว่าใครดูดีกว่ากัน? สิ่งที่น่าตกใจคือ มีนักศึกษาร่วมโหวตถึง 22,000 ครั้งในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง สิ่งที่มาร์คได้เรียนรู้คือ มนุษย์เราอาจจะแกล้งทำเป็นโมโห ว่ากล่าวว่าเป็นสิ่งที่น่าเกลียด แตพอลับหลังก็คลิกเข้าไปดูอยู่ดี


ความลับที่น่าเกลียดเรื่องที่สองก็คือ ถึงแม้ว่าคนคนหนึ่ง ที่ดูซีเรียส กับการทำงาน การเรียน หรือดูน่านับถือขนาดไหน คนเหล่านั้นก็อยากรู้เรื่องราวของชาวบ้านอยู่ดี ไม่เว้นแม้แต่นักศึกษาหัวดีอย่างนักศึกษาม.ฮาร์วาร์ด

และหลังจากรู้ความลับทั้งสองเขาก็เริ่มสร้าง แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ และนั้นก็คือที่มาของ ยาสร้างภาพ หลายคนเห็นภาพแสนสุขเหล่านั้นและรู้สึก อิจฉาชะมัด แล้วดันมาเปรียบเทียบกับชีวิตตัวเอง ทำให้มองไม่เห็นค่าของตัวเอง ถ้าคนที่รู้สึกแย่อยู่แล้ว อาจจะแย่ยิ่งขึ้นถ้าเผลอไปนั่งเปรียบเทียบหลงในยาสร้างภาพบนเฟสของเพื่อนๆ

อะไรคือสิ่งที่พวกเราพอจะทำได้บ้าง เราควรมองให้เห็นประโยชน์ และโทษของเทคโนโลยีที่เรานำยาทั้งสองไปใช้ เราควรนำไปเพิ่มประสิทธิภาพและการทำงานของตัวเอง และยามัวเสียเวลา ไปคิดมาก และไปเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับชีวิตของคนๆอื่น เป็นตัวของตัวเองดีที่สุด ผมชอบคำกล่าวของ สตีฟ จ๊อบ ที่เคยกล่าวเอาไว้ว่า

“Your time is limited, so don’t waste it living someone else’s life.”
564 views0 comments
bottom of page