ถ้าถามว่ามีใครบ้างที่ไม่รู้จักกูเกิล ก็เท่ากับว่าเขาอาจจะไม่เคยเล่นหรือรู้จักอินเตอร์เน็ต จากภารกิจของบริษัทกูเกิลที่ว่าจะเป็นผู้ดูแลแหล่งข้อมูลของโลกใบนี้ พวกเขาทำได้อย่างยอดเยี่ยมจริงๆ ช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กที่เราใช้ค้นหาสิ่งที่เราต้องการกันอยู่ทุกวันนั้น เบื้องหน้านั้นดูเรียบง่าย แต่การทำงานเบื้องหลังนั้นมีอะไรที่ซับซ้อนอยู่มากมาย และหัวใจของการค้นหานั้นเป็นชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ ที่มีการปรับเปลี่ยนแปลงแทบจะตลอดเวลา เราเรียกมันว่า กูเกิลอัลกอริทึ่ม
ในทุกๆวันทุกๆวินาที กูเกิลอัลกอริทึ่ม จะส่ง Bot หรือ แมงมุมขนาดเล็ก ไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อไปนำข้อมูลที่จำเป็น ที่มีประโยชน์ นำกลับมาจัดเรียงเข้าหมวดหมู่ จัดลำดับความน่าสนใจของเว็บไซต์ และนำเข้ามูลเหล่านั้นป้อนกลับเป็นคำตอบสำหรับคนที่สอบถามเข้ามา ผ่านทางหน้ากูเกิล หรือเราเรียกลำดับบนเว็บไซต์ว่า Search Engine Results Pages (SERP) ปัจจุบันกูเกิลก็นำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาช่วยให้กูเกิลอัลกอริทึ่มเรียนรู้ หรือสามารถพัฒนาตัวเองได้จากข้อมูลที่พวกเราป้อน ที่พวกเราค้นหากัน
ในปีหนึ่งกูเกิลจะทำการอัพเดตอัลกอริทึ่มขนาดใหญ่หนึ่งถึงสองครั้ง ไม่น่าแปลกใจ แต่ที่หน้าตกใจกว่าก็คือ การเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กหรือการทำ Modifications มากกว่า 600 ครั้งต่อปี ดังนั้นการทำความเข้าใจและหมั่นตรวจสอบปรับปรุงเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับกูเกิลก็คือหน้าที่หลักของเราครับ มาลองดูการอัพเดตใหญ่ๆและอัลกอริทึ่มที่ผ่านมาเรียงลำดับจากล่าสุดกัน
BERT Algorithm
เริ่มใช้: 25 ตุลาคม 2562
วัตถุประสงค์: ยกระดับการค้นหาบนกูเกิลเสริช์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้คำตอบที่ถูกต้องดีขึ้น
เป้าหมายหลัก: เพื่อเข้าใจภาษามนุษย์มากขึ้น
อัลกอริทึ่มตัวนี้เป็นตัวใหม่ล่าสุด ที่กูเกิลคิดค้นขึ้นมา เพื่อทำให้AI เข้าใจสิ่งที่ผู้คนต้องการที่จะค้นหาคำตอบจริงๆ BERT นั้นย่อมาจาก Bidirection Encoder Representations from Transformers อัลกอริทึ่ม BERT นี้เป็น Deep Learning Algorithm เทคโนโลยีล่าสุด นำมาช่วยให้คอมพิวเตอร์เข้าใจสิ่งที่มนุษย์มักถามและต้องการคำตอบที่แท้จริง เข้าใจความหมายที่แท้จริง ประโยคและความต้องการที่ซ่อนอยู่หลังคำถามนั้นๆ ซึ่งอัลกอริทึ่มตัวนี้จะช่วยให้การค้นหามีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิมถึง 10% เลยทีเดียว ลองไปอ่านบทความเกี่ยวกับ BERT โดยละเอียดกัน กูเกิลยกระดับการค้นหาให้เก่งมากขึ้น และเข้าใจมนุษย์มากขึ้นได้
Fred Algorithm
เริ่มใช้: 7 กรกฎาคม 2560
วัตถุประสงค์: กรองผลการค้นหาคุณภาพต่ำที่มีวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวคือสร้างรายได้
จากโฆษณาและพันธมิตร
เป้าหมาย: ตรวจสอบและลดอันดับของเว็บไซต์ที่ไม่มีเนื้อหาคุณภาพหรือมีโฆษณาสแปม
โฟกัสที่: OnPage SEO
Fred เป็นการอัพเดตครั้งใหญ่ของกูเกิล โดยมีเป้าหมายเพื่อลดคุณภาพของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาบนเว็บที่เป็นการสร้างขึ้นเพื่อขายของ หรือโฆษณา มีเนื้อหาน้อย และไม่มี การอัพเดตนี้กูเกิลไม่ได้ว่า FRED ทำงานอย่างไร แต่กูเกิลได้มอบ วิธีการสร้างเว็บที่มีคุณภาพแทน สามารถเข้าไปอ่านกันได้
Possum Algorithm
ใช้เมื่อ : 1 กันยายน 2559
วัตถุประสงค์ : ส่งมอบผลลัพธ์ที่ดีกว่าและหลากหลายมากขึ้นตามตำแหน่งของผู้ค้นหาและที่อยู่ธุรกิจ
เป้าหมาย: การคัดกรองข้อมูลและแสดงผลการค้นหา โดยขึ้นกับพื้นที่และที่อยู่ของธุรกิจท้องถิ่น และผู้ที่ทำการค้นหา
โฟกัสที่: OffPage SEO
Possum เป็นกูเกิลอัลกอริทึ่มที่มาช่วยเป็นตัวกรองความต้องการของผู้ค้นหาให้ได้ผลลัพธ์ที่ผู้ค้นหาน่าจะต้องการ โดยใช้ข้อมูลที่อยู่ของกิจการ มาเปรียบเทียบกับที่อยู่ของผู้ค้นหา และนำเสนอผลลัพธ์ที่ผู้ค้นหาน่าจะได้ประโยชน์มากที่สุด หลังจากมีอัลกอริทึ่มตัวนี้เพิ่มเข้ามากูเกิลก็ทำให้ข้อมูลระหว่างผู้ค้นหามีความเป็นเฉพาะบุคคลมากขึ้น
RankBrain Algorithm (AI)
ใช้เมื่อ: 26 ตุลาคม 2558
วัตถุประสงค์: ส่งค่าผลลัพธ์ให้มีการค้นหาที่ดีขึ้นสำหรับผู้ค้นหาแต่ละคน อัลกอริทึ่มตัวนี้ใช้เทคโนโลยี Machine Learning เข้ามาเรียนรู้ภาษา พฤติกรรม และหัวข้อต่างๆที่ผู้ค้นหาต้องการ
เป้าหมาย: ช่วยกรองเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เจาะจงขึ้น และ เพิ่มประสบการณ์ของผู้ใช้ งาน(User Experience)ให้ดีขึ้น
โฟกัสที่: OnPage SEO
RankBrain คืออัลกอริทึ่มของกูเกิลที่ใช้เทคโนโลยี Machine Learning ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์(AI)มาแปลความหมายความต้องการของผู้ค้นหา ที่พิมพ์เข้ามาบนกูเกิลเสริช์ หลังจากการเปิดใช้อัลกอริทึ่มตัวนี้ ยอดความพึงพอใจในการได้รับตอบที่ต้องการเพิ่มขึ้น 15% ของการค้นหา ในช่วงที่เพิ่งเริ่มใช้ RankBrain กูเกิลบอกว่าเป็นนี้เป็นอัลกอริทึ่มอันดับที่สาม(กูเกิลมีาอัลกอริทึ่มมากกว่า 200 ตัว)สำคัญที่สุดตั้งแต่กูเกิลมีมา หลังจากนั้นในปี 2019 ถึงได้เปิดตัว BERT อัลกอริทึ่ม
Mobile Friendly Update
เริ่มใช้เมื่อ: 21 เมษายน 2558
วัตถุประสงค์: ให้เว็บไซต์ที่สามารถปรับการแสดงผลได้บนมือถือ(Mobile Friendly Pages) เพิ่มลำดับบน SERPs และลดตำแหน่งของเว็บไซต์ที่ไม่ได้เป็น Mobile Friendly ลง
เป้าหมาย: ค้นหาเว็บไซต์ที่ไม่ได้ปรับหน้าจอสำหรับการแสดงผลบนมือถือ
โฟกัสที่: OnPage SEO
ตั้งแต่ช่วงปี 2558เป็นต้นมายอดผู้คนที่ใช้มือถือในการค้นหาข้อมูลสูงขึ้นมากๆ อัลกอริทึ่มของกูเกิลตัวนี้ถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนให้สามารถค้นหาผ่านมือถือได้ดีขึ้น โดยเน้นให้เว็บไซต์ที่สามารถแสดงผลบนมือถือได้เหมาะกว่าเพิ่มลำดับขึ้นมา เว็บไซต์ธุรกิจส่วนใหญ่ก็รีบปรับตัวเว็บไซต์เพื่อให้สอดคล้องกับอัลกอริทึ่มตัวนี้
Pigeon Algorithm
เริ่มใช้เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2557
วัตถุประสงค์: ให้ผลลัพธ์การค้นหาในโดยเน้นที่ตำแหน่งของธุรกิจในพื้นที่ที่มีคุณภาพและมีความเกี่ยวข้องกับผู้ค้นหา
เป้าหมาย: Google My Business ธุรกิจที่มีหน้าร้านจะได้รับผลประโยชน์
โฟกัสที่: OffPage SEO
เป้าหมายหลักๆของ Pigeon ก็คือยกระดับร้านที่มีหน้าร้านจริง โดยร้านที่มีหน้าร้านจริงเข้าไปปักหมุดบน Google Map ผ่าน Google My Business ก็จะได้ระดับความน่าเชื่อถือมากขึ้น จะเห็นได้ว่าเราไม่เพียงแต่ทำ SEO ในเว็บไซต์ธุรกิจของเราเท่านั้น เราควรจะทำข้อมูลให้เชื่อมต่อระหว่าง หน้าร้านจริงเข้ากับ หน้าเว็บไซต์ที่ออนไลน์ของเราด้วย
Hummingbird Algorithm
เริ่มใช้เมื่อ: 20 สิงหาคม 2556
วัตถุประสงค์: สร้างผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องมากขึ้นโดยการเข้าใจความหมายของข้อความค้นหาให้ดีขึ้นมาก
เป้าหมาย: ค้นหาคำตอบที่ผู้ค้นหาน่าจะอยากรู้ล่วงหน้าและการค้นหาด้วยเสียง จะกระทบ กับ Keyword ต่างๆ
ที่อยู่บนเว็บไซต์
โฟกัสที่: OnPage SEO
สมัยก่อน ถ้าคนใช้ค้นคำว่า “ขนมปังทาเนย” กูเกิลก็จะแสดง เฉพาะคำดังกล่าวเท่านั้น Hummingbird ก็เข้ามาช่วยตรงนี้โดยแสดงข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้ค้นหาน่าจะหมายถึง เช่นวิธีการทำขนมปังทาเนย หรือขนมปังทาเนยที่ไหนน่ารับประทานที่สุด เป็นต้น Hummingbird จะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ของคำค้นหาแต่ละคำ แทนที่จะแยกความหมายของคำนั้นๆ ดังนั้นผลลัพธ์ที่จะออกมาก็จะเป็นธรรมชาติมากที่สุด เพราะเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ใช้ต้องการ
Pirate Algorithm
เริ่มใช้เมื่อ: สิงหาคม 2555 (เป็นVersion1.0),
17 ตุลาคม 2558 (เริ่มใช้เวอร์ชั่น Pirate 2.0)
วัตถุประสงค์: ตรวจสอบและระงับการจัดอันดับสำหรับเว็บไซต์ที่มีปัญหา
การละเมิดลิขสิทธิ์
เป้าหมาย: ตรวจสอบเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์
โฟกัสที่: OnPage SEO
กูเกิลใช้Pirate อัลกอริทึ่มสำหรับตรวจจับการกระทำที่ผิด เนื้อหาที่ผิดกฏหมายลิขสิทธิ์ โดยใช้หลักกฏหมาย DMCA (Digital Millennium Copyright Act) ซึ่งเป็นกฎหมายลิขสิทธิ์ในสหรัฐอเมริกาของ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก กฎหมายนี้กำหนดให้การผลิตและเผยแพร่เทคโนโลยี อุปกรณ์ หรือบริการ ที่เจตนาทำขึ้นเพื่อหลบเลี่ยงมาตรการในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เพื่อป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ล่อแหลม อัลกอริทึ่มตัวนี้ ไม่กระทบกับธุรกิจปกติ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องกังวลครับ
Penguin Algorithm
เริ่มใช้เมื่อ: 24 เมษายน 2555
วัตถุประสงค์: จัดการหรือระงับเว็บไซต์ที่มีสแปมลิงค์หรือโปรไฟล์ที่หลอกลวง
เป้าหมาย: Back-links ทั้งหมด
โฟกัสที่: OffPage SEO
เพนกวินอัลกอริทึ่ม มาจัดการพวกเว็บแสปม(แสปม คือ ข้อความที่ไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นคำชวนเชื่อ คำโฆษณาขายของต่างๆ) รวมถึงจัดการกับเว็บไซต์ที่เน้นแต่ปริมาณมากกว่าคุณภาพของเนื้อหา เว็บไซต์ที่ซื้อ Backlink หรือลิงค์ที่อยู่ภายนอกเว็บไซต์ เพื่อสร้าง Traffiic ชวนเชื่อให้เขามาจำนวนมาก อัลกอริทึ่มตัวนี้ ยกระดับให้กูเกิลจัดการกับเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำได้ดีขึ้น
Panda Algorithm
เริ่มใช้เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2554
วัตถุประสงค์: จัดการลดระดับเว็บไซต์ที่มีคุณภาพน้อย ที่นำเนื้อหา
หรือก๊อปปี้มาจากที่อื่น
เป้าหมาย: เนื้อหาที่ซ้ำกันและสแปมที่สร้างโดยความตั้งใจของผู้ใช้
โฟกัสที่: OnPage SEO
เมื่อก่อน ใครที่มีตัวอักษรหรือ Text เยอะกว่าก็จะติดอันดับสูงกว่า โดยไม่ได้เน้นที่เนื้อหาหรือสาระของเว็บไซต์ กูเกิลเลยสร้างอัลกอริทึ่มแพนด้าเข้ามาจัดการกับเว็บไซต์ที่เน้นแต่ตัวอักษร เน้นปริมาณ และคัดลอกเนื้อหาซ้ำๆกัน หรือเราเรียกว่า Content -Farm ทำการลดลำดับหรือนำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหรือที่คัดลอกคำมาจากที่อื่น
อัลกอริทึ่มที่นำมาให้ทำความรู้จักกันนี้ เราควรจะทำความรู้จักกันไว้ นำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ของเรากันครับ ผมมีความเชื่อว่าตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไปทางดูเกิลก็จะยกระดับหรือพัฒนาอัลกอริทึ่มต่างๆเพิ่มสูงขึ้นไปอีกเพื่อรองรับ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป อย่างการค้นหาด้วยเสียง การจัดการเนื้อหาของ Podcasting หรือการใช้งานเพื่อเฉพาะเจาะจงจากผู้คนหามากขึ้น(Personalized search)
ทีมหนุนนำ บริการสร้างเว็บไซต์ เน้นการทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหา เราช่วยเหลือด้านการตลาดออนไลน์ เราจัดฝึกอบรมและพัฒนาทีมงานให้ทุกธุรกิจ ใครสนใจสามารถเข้ามาพูดคุยกันได้ ติดต่อเข้ามาที่ลิงค์นี้หรือ ผ่าน Line Official Account : @noonnum
Comments